ประเพณีปอยส่างลอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประจำปี 2563

ททท.สำนักงานแม่ฮ่องสอน ขอเชิญร่วมงานบุญสืบสานประเพณีปอยส่างลอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประจำปี 2563 ซึ่งเป็นมนต์เสน่ห์หนึ่งในงานประจำปีเลื่องชื่อของชาวไทใหญ่เมืองสายหมอก ซึ่งนอกจากจะมากไปด้วยสีสันงดงามเป็นเอกลักษณ์แล้ว ยังเป็นงานบุญที่เปี่ยมไปด้วยพลังแห่งศรัทธาอันทรงคุณค่า

ประเพณีปอยส่างลอง งดงามเปี่ยมศรัทธา ทรงคุณค่าคู่วิถีไทใหญ่ การได้บวชส่างลองจะได้อานิสงส์ผลบุญสูงสุด เป็นความเชื่อของชาวไทใหญ่ ที่ได้ยึดถือปฏิบัติและสืบทอดต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน จนกลายเป็นหนึ่งในประเพณีที่ทรงคุณค่าของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ถือคติในการบวชเณรที่เลียนแบบพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าตอนเป็นเจ้าชายสิทธัตถะก่อนออกผนวช จึงต้องแต่งกายส่างลองกันให้สง่างาม ตามแบบกษัตริย์พม่าโบราณ นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อมีชายเชิงงอนปักดิ้นไหม ประดับด้วยเพชรนิลจินดา ทั้งสร้อย กำไล และแหวน ศรีษะโพกด้วยผ้าแพรและประดัฐด้วยดอกไม้ มีคนคอยกางร่มทองคำกันแดด มีพี่เลี้ยงส่วนตัวคอยดูแลส่างลองอย่างใกล้ชิด

โดยจะจัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง ทุกปี ระหว่างเดือน มีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นช่วงว่างเว้นจากการทำนา และมึความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องของอาหาร และเป็นช่วงที่เด็กๆปิดเทอม ถือเป็นการใช้เวลาว่างช่วงปิดเทอมนี้ ศึกษาหาความรู้ และฝีกปฏิบัติตามรูปแบบของชาวพุทธ เป็นกลวิธีในการให้เด็กได้เรียนรู้ และสืบสานประเพณีดั้งเดิมของท้องถิ่นได้ดี

โดยในปีนี้การจัดงานประเพณีปอยส่างลอง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้ประกาศเจตนารมณ์ร่วมจัดงานภายใต้หลักธรรมทางศาสา ปลอดแอลกอฮอล์ และยึดหลักประเพณีอันดีงามสืบไป โดยมีกำหนดจัดงานประเพณีปอยส่างลองในหลายพื้นที่ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ดังนี้

วันแรก เรียกว่า วันรับส่างลอง
ในตอนเช้าเจ้าภาพส่างลองจะนำบรรดาเด็กชายไปวัด เพื่อแต่ชุดส่างลอง

วันที่ 2 เรียกว่า วันข่ามแขก 
คือ วันรับแขกนั่นเอง จะเป็นวันที่ญาติพี่น้องจากหมู่บ้านอื่นมาร่วมงานอย่างพร้อมเพรียงกัน

วันที่ 3 เรียกว่า วันแห่ครัวหลู่ 
เป็นวันแห่งเครื่องไทยทาน มีการแห่ส่างลองกับเครื่องไทยทานจากวัดไปตามถนนสายต่างๆ ขบวนแห่ประกอบด้วยจีเจ่ (กังสดาล) ม้าเจ้าเมืองต้นตะเป่ส่าพระพุทธ ต้นตะเป่ส่าพระสงฆ์ ปุ๊กข้าวแตก เทียนเงินเทียนทอง พุ่มเงินพุ่มทอง อู่ต่องปานต่อง หม้อน้ำต่า อัฐบริขาร ดนตรีประโคมและขบวนแห่ส่างลอง โดยให้ส่างลองขี่คอพี่เลี้ยงเรียกว่า “ตะแปส่างลอง” มีกลดทอง หรือ ” ทีคำ” แบบพม่าไว้บังแดด

วันที่ 4 เรียกว่า วันข่ามส่าง หรือวันหลู่ 
คือจะนำส่างลองไปบรรพชาเป็นสามเณรในวันข่ามส่าง ผู้คนจะมาชุมนุมกันที่วัดกันตั้งแต่เช้า จนได้เวลาพอสมควรก็จะมีการ ถ่อมลีก คืออ่านหนังสือธรรมะให้ทุกคนฟังอันเป็นการกล่อมเกลาจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในความดีซึ่งถือเป็นประเพณีสืบทอดกันานาน เมื่อได้เวลาฉันเพลก็จะมีการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่นิมนต์มาร่วมพิธีบรรพชาสามเณรก่อนแล้วจึงเลี้ยงอาหารผู้มาร่วมงานพิธีเป็นอันเสร็จสิ้นพิธี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ททท.แม่ฮ่องสอน 053 612982
สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดแม่ฮ่องสอน 0530614417

cr.https://thai.tourismthailand.org/Articles/poisanglong